เมนู

อรรถกถาปฐมโลกกามคุณสูตรที่ 3


ในปฐมโลกกามคุณสูตรที่ 3 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า โลกสฺส ได้แก่ โลกจักรวาล. บทว่า โลกสฺส อนฺตํ
ได้แก่ ที่สุดแห่งสังขารโลก. บทว่า วิหารํ ปาวิสิ ความว่า พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทรงพระดำริว่า เมื่อเราเข้าไปสู่วิหาร ภิกษุเหล่านี้ จักถาม
อุทเทสนี้ กะพระอานนท์ พระอานนท์ จักกล่าวเทียบเคียงกับพระ-
สัพพัญญุญาณของเรา. แก่ภิกษุเหล่านั้น แต่นั้นเราจักชมเชยเธอ ภิกษุ
ทั้งหลายพึงการชมเชยของเรา จักสำคัญพระอานนท์ว่าควรเข้าไปหา จัก
สำคัญคำของเธอว่า ควรฟัง ควรเชื่อถือ ข้อนั้นจักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อ
ความสุขแก่ภิกษุเหล่านั้น ตลอดกาลนาน จึงมิได้ทรงจำแนกอรรถแห่งคำ
ที่ตรัสโดยย่อให้พิสดาร แล้วหายไป ณ อาสนะที่ประทับนั่ง ไปปรากฏใน
พระคันธกุฎี. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อุฏฺฐายาสนา วิหารํ ปาวิสิ.
บทว่า สตฺถุ เจว สํวณฺณิโต แปลว่า อันพระศาสดาสรรเสริญ
แล้ว. แม้บทว่า วิญฺญูนํ นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ
ความว่า อันเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลายยกย่องแล้ว. บทว่า
ปโหติ แปลว่า อาจ.
บทว่า อติกฺกมฺเมว มูลํ อติกฺกมฺม ขนฺธํ ความว่า ชื่อว่า
แก่น พึงมีที่รากหรือลำต้น ก็เลยแก่นนั้นไปเสีย. บทว่า เอวํ สมฺปทมิทํ
ได้แก่ ข้ออุปมัย เช่นนี้ก็ฉันนั้น. บทว่า อติสิตฺวา แปลว่า ก้าวล่วง.
บทว่า ชานํ ชานาติ ได้แก่ย่อมรู้ สิ่งที่ควรรู้เท่านั้น. บทว่า ปสฺสํ

ปสฺสติ ได้แก่ ย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็นเท่านั้น. อนึ่ง บุคคลบางคน แม้
เมื่อยึดถือสิ่งที่ผิด ๆ ก็ยิ่งไม่รู้ แม้เมื่อเห็น ก็ชื่อว่า ไม่เห็น ฉันใด
พระผู้มีพระภาคเจ้า หาเป็นฉันนั้นไม่. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรง
ทราบ ชื่อว่าทรงทราบ เมื่อทรงเห็นก็ชื่อว่า ทรงเห็นเหมือนกัน พระผู้มี-
พระภาคเจ้านี้นั้น ชื่อว่า เป็นผู้มีจักษุ เพราะอรรถว่า มีทัสสนะเป็นตัวนำ
ชื่อว่า เป็นผู้มีญาณ เพราะอรรถว่า กระทำความเป็นผู้รู้แจ้ง ชื่อว่า เป็นผู้
มีธรรม เพราะสำเร็จมาแต่ธรรม เหมือนคิดด้วยพระหทัย เปล่งด้วย
พระวาจา เพราะอรรถว่า มีความไม่แปรปรวนเป็นสภาวะ หรือเพราะ
ประกาศโดยปริยัติธรรม ชื่อว่า เป็นพรหม เพราะอรรถว่า เป็นผู้ประเสริฐ.
อีกนัยหนึ่ง ทรงเป็นราวกะว่า มีจักษุ ชื่อ จักขุภูโต. พึงทราบอรรถ
ในบทเหล่านี้ด้วยประการฉะนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้านี้นั้น ชื่อว่า เป็นผู้
กล่าว เพราะอรรถว่า กล่าวธรรม. ชื่อว่า เป็นผู้ประกาศ เพราะยังธรรม
ให้เป็นไป. ชื่อว่า เป็นผู้แนะนำข้อความ เพราะทรงสามารถนำพระหัตถ์
ออกชี้แจงได้ ชื่อว่า ประทานอมตะ เพราะทรงแสดงข้อปฏิบัติเพื่อบรรลุ
อมตะได้.
บทว่า อครุํ กริตฺวา ความว่า แม้เมื่อไม่ให้เขาอ้อนวอนบ่อย ๆ
ชื่อว่า ทรงกระทำให้หนัก. แม้เมื่อทรงยืนหยัดอยู่ในเสขปฏิสัมภิทาญาณ
ของพระองค์แล้วแสดงให้รู้ได้ยาก เหมือนขุดทรายขึ้นจากเชิงเขาสิเนรุ
ชื่อว่า ทำให้หนักเหมือนกัน. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เมื่อไม่ทำอย่างนั้น
ไม่ยอมให้พวกเราขอบ่อย ๆ กล่าวให้พวกเรารู้ได้ง่าย.

บทว่า ยํ โข โว ได้แก่ ยญฺจโข ตุมฺหากํ. บทว่า จกฺขุนา
โข อาวุโส โลกสฺมึ โลกสญฺญี โหติ โลกมานี
ความว่า ปุถุชน
ผู้ยังละทิฏฐิไม่ได้ในโลก ย่อมจำหมายและย่อมสำคัญด้วยจักษุทั้งหลาย ว่า
โลก คือ สัตว์โลก ย่อมจำหมายและสำคัญด้วยอำนาจ จักกวาลโลก
ก็อย่างนั้น จริงอยู่ เว้นอายตนะ 12 มีจักขวายตนะเป็นต้น สัญญา
หรือ มนะนั้นย่อมไม่เกิดขึ้นแก่เขา. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
จกฺขุนา โข อาวุโส โลกสฺมึ โลกสญฺญี โหติ โลกมานี ดังนี้.
ก็ขึ้นชื่อว่า ที่สุดแห่งโลกนี้ ใคร ๆ ไม่อาจ จะรู้ จะเห็น จะถึงด้วยการ
ไปได้ แต่ผู้ที่ยังไม่ถึงที่สุด กล่าวคือ การดับโลก อันต่างด้วยจักขุเป็นต้น
นั้นนั่นแล เพราะอรรถว่า เป็นของชำรุด พึ่งทราบว่า ชื่อว่า ไม่มีการ
กระทำที่สุดแห่งวัฏฏทุกข์.
ครั้นวิสัชนาปัญหาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะส่งภิกษุเหล่านั้นไป
ด้วยคำว่า พวกท่านอย่าสงสัยไปเลยว่า พระสาวกถามปัญหา พระผู้มี-
พระภาคเจ้านี้ ประทับนั่งจับตาชั่ง คือ พระสัพพัญญุตญาณ พวกท่าน
เมื่อปรารถนา เข้าไปเฝ้าพระองค์นั้นนั่นแล ก็คงหายสงสัย จึงกล่าวว่า
อากงฺขมานา เป็นต้น.
บทว่า อิเมหิ อากาเรหิ ความว่า ด้วยเหตุเหล่านี้ คือ ด้วยเหตุ
แห่งความมีที่สุดแห่งจักรวาลโลก และด้วยเหตุยังไม่ถึงที่สุดแห่งสังขารโลก.
บทว่า อิเมหิ ปเทหิ ได้แก่ ด้วยการประมวลอักษรเหล่านี้. บทว่า
พฺยญฺชเนหิ ได้แก่ ด้วยอักษรแผนกหนึ่ง. บทว่า ปณฺฑิโต ได้แก่
ประกอบด้วยความเป็นบัณฑิต. อีกอย่างหนึ่ง เป็นผู้ฉลาดด้วยเหตุ 4
ประการ คือ เป็นผู้ฉลาดในธาตุ เป็นผู้ฉลาดในอายาตนะ เป็นผู้ฉลาดใน

ปัจจยาการ เป็นผู้ฉลาดในเหตุและมิใช่เหตุ. บทว่า มหาปญฺโญ คือ
เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญามาก เพราะเป็นผู้ฉลาดในการกำหนดถือเอาอรรถ
เป็นอันมาก ธรรมเป็นอันมาก นิรุตติเป็นอันมาก ปฏิภาณเป็นอันมาก.
บทว่า ยถา ตํ อานนฺเทน ความว่า ท่านกล่าวหมายเอาคำที่ท่าน
พระอานนท์พยากรณ์ไว้. อธิบายว่า คำนั้น ท่านพระอานนท์พยากรณ์
ไว้อย่างใด แม้เราก็พึงพยากรณ์คำนั้น อย่างนั้นเหมือนกัน.
จบ อรรถกถาปฐมโลกกามคุณสูตรที่ 3

4. ทุติยโลกกามคุณสูตร


ว่าด้วยความดับแห่งอายตนะ 6


[ 173 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อก่อนตรัสรู้ เราเป็นพระโพธิสัตว์
ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความปริวิตกว่า เบญจกามคุณของเราที่เราเคยสัมผัส
ด้วยใจมาแล้ว ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว จิตของเราเมื่อเกิด
พึงเกิดขึ้นในเบญจกามคุณที่เป็นปัจจุบันมาก หรือที่เป็นอนาคตน้อย ลำดับ
นั้น เราคิดว่า เบญจกามคุณปองเราที่เราเคยสัมผัสด้วยใจมาแล้ว ล่วงไป
แล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว เราปรารถนาประโยชน์แก่ตน พึงทำ
ความไม่ประมาทในเบญจกามคุณนั้น และสติให้เป็นเครื่องรักษาจิต เพราะ
เหตุนั้นแหละ เบญจกามคุณ แม้ของท่านทั้งหลาย ที่ท่านทั้งหลายเคย
สัมผัสด้วยใจมาแล้ว ล่วงไปแล้ว ดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว จิตของ
ท่านทั้งหลายเมื่อเกิด พึงเกิดขึ้นในเบญจกามคุณที่เป็นปัจจุบันมาก หรือ
ที่เป็นอนาคตน้อย ( เช่นเดียวกัน ) เพราะเหตุนั้นแหละ เบญจกามคุณ